วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2558


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh7rXyS0YRtds8krJBt5du7jsaNwYJsSd0wXfVaPgX8LDeTw1Pp0d3NDLmt9AA3uMHJlr_rzzBUbOp4P34VfVC26USy88EGfyy-UP6niVwv4t-YkIvou7fawL2bSSQhCA0PKrxTe8EVY1o/s1600/64100250_0_20150802-230939+copy.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh7rXyS0YRtds8krJBt5du7jsaNwYJsSd0wXfVaPgX8LDeTw1Pp0d3NDLmt9AA3uMHJlr_rzzBUbOp4P34VfVC26USy88EGfyy-UP6niVwv4t-YkIvou7fawL2bSSQhCA0PKrxTe8EVY1o/s1600/64100250_0_20150802-230939+copy.jpg





พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 

              (
การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง)
1.
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา
2.
มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป
3.
สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ มีดังนี้


(1)
คุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์และ คุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ใช้บริหารจัดการสิทธิของตนไม่ ให้คนอื่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ เช่น การลบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ชื่อผู้สร้างสรรค์ ชื่อนักแสดง เป็นต้น โดยหากบุคคลใด ลบ หรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลดังกล่าว ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ


(2)
คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ปกป้องงานอันมี ลิขสิทธิ์ของตนเพื่อป้องกันการทำซ้ำหรือการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น พาสเวิร์ด (password) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ในการควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่ อยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยหากบุคคลใดทำลายมาตรการทางเทคโนโลยีดังกล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอมถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี


(3)
กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction) เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียกดูงานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการทำซ้ำงานเพลงหรือภาพยนตร์ดังกล่าวไว้ใน หน่วยความจำ (RAM) ทุกครั้ง ด้วยความจำเป็นทางเทคนิคดังกล่าวทำให้ทุกครั้งที่มีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจะต้องทำซ้ำงานด้วยเสมอ การทำซ้ำลักษณะนี้เป็นการทำซ้ำชั่วคราว ที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์


(4)
เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Liability Limitation of ISP) เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น เจ้าของเว็บไซต์ Youtube ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์ เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องแสดงหลักฐานต่างๆ ต่อศาลอย่างเพียงพอ และเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เอาไฟล์ละเมิดออกจากเว็บไซต์แล้ว และเจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการตามคำสั่งศาล เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ดังกล่าว


(5)
เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมี ลิขสิทธิ์ โดยนำหลักการระงับไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exhaustion of Rights) มากำหนดให้ชัดเจนว่าการขายงานอันมีลิขสิทธิ์มือสองสามารถทำได้โดยไม่ถือเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขายภาพเขียน หนังสือ ซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายซีดีภาพยนตร์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดี ทัศน์ด้วย มิฉะนั้น แม้ไม่ผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ได้


(6)
เพิ่มเติมเรื่องสิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง (Moral Right) เพื่อเพิ่มสิทธิให้นักแสดง มีสิทธิทางศีลธรรมเท่าเทียมกับสิทธิทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์งานอันมี ลิขสิทธิ์ โดยนักแสดงมีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อ เสียงหรือเกียรติคุณ


(7)
เพิ่มบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive damages) โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงจ่ายค่า เสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่ามีการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนาให้งานอันมี ลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย
(8) กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด และสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดง

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjrrCQJCcpRHPNXoJTGFweqdBpDx_MUJxNW7O7WVFCV1TafZ12AuZqbfesGDDR10HNqWl6s2Pyacvyr30Ha_sCnKCQ7_LkF6Rz7RP-kZJD-BZumZIIX7-QlpD4zxvutCy3CZ1ghRAHoopYT/s1600/p0115040858p1.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjrrCQJCcpRHPNXoJTGFweqdBpDx_MUJxNW7O7WVFCV1TafZ12AuZqbfesGDDR10HNqWl6s2Pyacvyr30Ha_sCnKCQ7_LkF6Rz7RP-kZJD-BZumZIIX7-QlpD4zxvutCy3CZ1ghRAHoopYT/s1600/p0115040858p1.jpg

 

ส่วนบทลงโทษผู้กระทำผิดโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ มีดังนี้

-
กรณีละเมิดลิขสิทธิ์ มีโทษปรับ 20,000-200,000 บาท

-
กรณีใช้เพื่อการค้า มีโทษปรับ 100,000-800,000 บาท หรือจำคุก 6 เดือนถึง 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

-
กรณีละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี มีโทษปรับ 10,000-100,000 บาท ใช้เพื่อการค้า มีโทษปรับ 50,000-400,000 บาท หรือจำคุก 3 เดือนถึง 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

-
กรณีรายการเล่าข่าวหรือการทำวิจัย กฎหมายมีข้อยกเว้นอนุญาตให้เผยแพร่ซ้ำได้ แต่จะต้องนำไปใช้เพียงบางส่วนและต้องระบุให้เครดิตกับเจ้าของสิทธิ์ด้วย


ที่มาข้อมูล : http://hilight.kapook.com/view/124327

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น